ประชากร
รอปรับปรุง
ประวัติความเป็นมา
ตำบลเดื่อศรีคันไชย ตามประวัติเดิมเล่าว่า ตั้งมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2399 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2424 พระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ หรือท้าวเทพรักษา (แดง) ได้ย้ายเมืองสว่างแดนดิน (ปัจจุบันเป็นบ้านสว่างเก่าอยู่ในเขตอำเภอพรรณนานิคม) มาตั้งอยู่ที่บ้านเดื่อศรีคันไชย ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มาตั้งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2439 รวมเป็นเวลา 16 ปี จึงย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่บ้านโคกสี (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเจริญศิลป์)
ต่อมาปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2440 แบ่งการปกครองออกเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และมณฑล สำหรับตำบลเดื่อศรีคันไชย ตั้งเป็นตำบลเมื่อใด ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดนัก คงประมาณปี พ.ศ. 2445 (ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ตั้งอำเภอสว่างแดนดิน) โดยมีหลวงชำนาญ (ท้าวเทือง เทศประสิทธิ์) เป็นกำนันคนแรก
1.สภาพทั่วไป
1.1 ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 บ้านปานเจริญ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อยุ่ห่างจากอำเภอวานรนิวาสไปทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร 63 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 107 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 66,875 ไร่องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 17 หมู่บ้าน มีราษฎรจำนวน 11,662 คนแบ่งเป็นชาย จำนวน 5,809 คน หญิงจำนวน 5,853 คน มีจำนวนครัวเรือน 3,198 ครัวเรือน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 5 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง มีวัด 16 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 4 แห่งสุสานคริส์ต 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ประกาศเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 มีผลบังคับใช้ วันที่ 30 มีนาคม 2539 โดยมีนายศรีจันทร์ สุวรรณเทน กำนันตำบลเดื่อศรีคันไชย เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง) คนแรก และคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัดสกลนคร)มีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2551 เห็นชอบปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย จากขนาดเล็กให้เป็นขนาดกลาง มีนายวีระศักดิ์ สุทธิอาจ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย คนปัจจุบัน
1.2 อาณาเขตติดต่อ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดกับ ตำบลศรีวิชัย ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับ ตำบลม่วงไข่ ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน อำเภอพังโคน
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดกับ เทศบาลตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส และตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดกับ ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 37,663 ไร่ เป็นพื้นทำนา 30,350 ไร่ มีพื้นที่ทำไร่ 3,700 ไร่ มีกลุ่มอาชีพจำนวน 18 กลุ่ม โดยมีกลุ่มอาชีพเข้มแข็งต้นแบบที่เป็นโอท๊อป (OTOP) ของตำบล ได้แก่ กลุ่มไข่เค็มบ้านขุนภูมิ หมู่ที่ 5 และกลุ่มผลิตลวดหนามด้วยมือ บ้านขุนเจริญ หมู่ที่ 12 มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดและระดับภาค
1.3 ภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไป พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สลับกับที่ดอน โดยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและบริเวณทิศเหนือ พื้นที่จะเป็นที่ราบสูงมีป่าไม้สลับกับทุ่งนา ลาดต่ำลงมาทางทิศใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาตลอดแนวติดกับลำห้วยปลาหาง ซึ่งเป็นห้วยหลักที่สำคัญของตำบล และเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอพังโคนกับอำเภอวานรนิวาส ซึ่งพื้นที่บริเวณลำห้วยปลาหางนี้ พื้นที่บริเวณลำห้วยปลาหางนี้จะมีปัญหาน้ำท่วมทุกปีและมีลำห้วย จำนวน 9 สาย คือ 1. ลำห้วยซัน 2. ลำห้วยสายเลิง 3. ลำห้วยกุดแสง 4. ลำห้วยหนองแห้ว 5. ลำห้วยกุดจาน 6. ลำห้วยไผ่ 7. ลำห้วยม่วง 8. ลำห้วยอ้ายโกรก 9. ลำห้วยนาขาม ไหลไปบรรจบกับลำห้วยปลาหาง ซึ่งเป็นลำห้วยสายหลักของตำบล มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน ไหลผ่านอำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอสว่างแดนดิน และไหลผ่านตำบลเดื่อศรีคันไชย ไปอำเภอพรรณานิคมและไหลลงสู่แม่น้ำสงครามต่อไป เป็นลำห้วยสายหลักที่แบ่งเขตอำเภอพังโคนและอำเภอวานรนิวาส อีกทั้งตำบลเดื่อศรีคันไชย ยังมีคลองขุดสมัย ส.ส.เตียง ศิริขันธ์ จ้างแรงงานชาวบ้านในสมัยนั้นเพื่อระบายน้ำจากเขื่อนน้ำอูน ตัดผ่านตำบลเดื่อศรีคันไชย บริเวณบ้านโคกก่อง บ้านโพธิ์ตาก บ้านขุนภูมิ ไหลลงสู่ลำห้วยปลาหางกรมชลประทานรับผิดชอบในการดูแลรักษาปัจจุบันคลองขุดดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนามากนักยังเป็นคลองขุดเหมือนเดิมแต่สามารถระบายน้ำได้บ้าง
ตำบลเดื่อศรีคันไชย มี 3 ฤดู คือ
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม
1.4 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย แบ่งพื้นที่การปกครองปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านยางคำ นายสมัย หาดี เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 2 บ้านเดื่อศรีคันไชย นายวุฒิศักดิ์ เหระวัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ตาก นายประสาทพร ผิวไชย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 4 บ้านโนนแพง นายประวัติ ไพศาลธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 5 บ้านขุนภูมิ นายสมัย ใจวัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 6 บ้านท่าแร่ นายเหรียญชัย สุนารักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 7 บ้านโคกก่อง นายสมยศ อุ่นกาลี เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 8 บ้านโคกสำราญ นายคำสิงห์ ไชยวงศ์จันทร์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 9 บ้านโคกไพศาล นายเกรียงไกร นวลอึ่ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 10 บ้านปานเจริญ นายสายัณฑ์ ธรรมวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 11 บ้านเนินโพธิ์ทอง นายวิสุทธิ์ หลอดเหลา เป็นกำนัน
- หมู่ที่ 12 บ้านขุนเจริญ นายทักษิณ โพธิ์ศรีชัย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 13 บ้านคำหมูน นายวิระพล น้อยโสม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 14 บ้านสระพังทอง นายสมศักดิ์ เสียงใส เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 15 บ้านท่าเดื่อ นายสาโรจน์ สอนสิงห์ไชย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 16 บ้านคำเจริญ นายสุริยา คุณสมบัติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 17 บ้านขุนภูมิ นายชาญชัย ใจวัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
1.5 ประชากร
ตำบลเดื่อศรีคันไชยมีประชากรทั้งสิ้น 11,662 คน แยกเป็นชาย 5,809 คน หญิง 5,853 คน มีจำนวนครัวเรือน 3,198 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 109.73 คน / ตารางกิโลเมตร
ความหมาย
ตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย ประกอบไปด้วย วงรีด้านนอกสองชั้น เส้นนอกสุดจะมีสองเส้นมีชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชยอยู่ด้านบน มีชื่ออำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อยู่ด้านล่างตรงกลาง ภายในวงรีรอบของวงรีด้านนอก มีลายดอกไม้แบ่งกึ่งกลางของวงรี วงด้านในจะมีเส้นรอบวงหนึ่งเส้น ภายในประกอบด้วย ต้นมะเดื่อใหญ่มีรากหยั่งลึกอยู่ท่ามกลางลำน้ำห้วยปลาหางล้อมรอบอันแสดงถึงอัตตาลักษณ์วิถีชีวิตของประชาชนตำบลเดื่อศรีคันไชย มีความหมายดังนี้
ต้นมะเดื่อใหญ่ หมายถึง ต้นไม้ประจำตำบลเดื่อศรีคันไชย ซึ่งมีรากลึกอยู่ท่ามกลางลำน้ำห้วยปลาหางล้อมรอบ (ต้นมะเดื่อใหญ่ได้ตายประมาณปี พ.ศ. 2468 นับเป็นเวลานานกว่า 60 ปีมาแล้ว)
ลำน้ำห้วยปลาหาง หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของตำบลเดื่อศรีคันไชย ที่มีพื้นที่อันเหมาะสมกับการทำนา มีโคกป่าเหมาะกับการทำไร่ ทำสวนมีป่าดงอุดมสมบูรณ์เพราะมีลำห้วยหลายสายไหลมาบรรจบลำห้วยปลาหาง เช่น ลำห้วยกุดจาน ลำห้วยไผ่ฯ อันเป็นลำห้วยสายหลักที่ไหลผ่านตำบลเดื่อศรีคันไชย ไหลมาจากอำเภอวาริชภูมิซึ่งกำเนิดจากเทือกเขาภูพานเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอพังโคนกับอำเภอวานรนิวาส อยู่ทางทิศใต้ของตำบลเดื่อศรีคันไชย น้ำไหลจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ชาวบ้านได้อาศัยเป็นแหล่งประมงในช่วงฤดูแล้ง
ตราสัญลักษณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเดื่อศรีคันไชย
รอปรับปรุง